วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

(E-Office)



อิเลคทรอนิคส์ (E-Office) คือ
               สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็คโทนิค การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย

               ระบบสำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) รวมถึง ระบบข้อมูลสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่มีจุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย, คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง
หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) ถูกมองว่า มีเพียงหน้าที่แก้ปัญหาในการทำงาน แต่ในปัจจุบัน ระบบที่ช่วยเสริมการติดต่อ สื่อสารในสถานที่ทำงาน ถูกมองว่ามีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเดียวกับระบบ TPS, MIS และ ISS

                  สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) ในปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไล และ ระบบไปรษณีย์ เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่

                  ระบบ E-OFFICE เป็นโปรแกรม สำหรับบริหารงานในองค์กร,บริษัท  online
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือ ใช้เป็น Network Intranet ภายในองค์กร ที่รวมระบบ CRM
และ ระบบงานบริหารภายในองค์กร ไว้ด้วยกัน    ทำให้ได้ ระบบการจัดการงานในสำนักงาน ที่
มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ผู้บริหาร   เห็นข้อมูลทุกส่วน เรียกดูเอกสารได้ทุกประเภทออนไลน์  realtime 
 มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าลงฐานข้อมูล integrateระบบงานทุกแผนก บนฐานข้อมูลเดียวกัน
ระบบงานเอกสารขาย-ซื้อ มีระบบอนุมัติเอกสารก่อนนำไปใช้งาน ,สั่งงานพนักงานผ่านระบบปฏิทินงาน  
หรือ ระบบ Task   ที่กำหนดผู้รับผิดชอบ และติดตามงาน รายงานผลการปฏิบัติ ได้ ชัดเจน และ ยั
งมีระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ E-Document   ส่งเอกสาร หนังสือเวียน  เซ็นรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 
รวดเร็ว ประหยัดกระดาษ (paperless) ลดค่าใช้จ่ายในองค์กร พร้อมทั้งระบบ เมล์ โพลล์ และ
กำหนดสิทธิการใช้งานของ user ได้อย่างอิสระ

ประโยชน์จากการใช้ e-Offfice


             ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับจากการดำเนินการ e-Office คือ การเพิ่มคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว และเราสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้งานระบบ e-Office และการหันมาใช้งานระบบนี้ไม่ต้องเพิ่มทุนมากนักเพราะทรัพยากรหลัก ๆ เป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในองค์กร ทุกวันนี้มีเครือข่ายที่เป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ เป็นเครือข่ายที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นเครือข่ายที่ใช้ประโยชน์และแสดงความก้าวหน้าขององค์กรมากมาย การเพิ่มงาน e-Office จึงเป็นการเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มมากนัก การทำงานภายในขององค์กรจะรวดเร็วขึ้น การส่งเอกสารระหว่างกันจะรวดเร็ว แม้การส่งข้ามองค์กรก็จะไปได้ทันที ส่งผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมดีขึ้น การเน้นในเรื่องความเร็วและเวลาเป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์อย่างชัดเจน การจัดการเอกสารจะดีขึ้น จะมีการจัดหมวดหมู่และเรียกใช้เอกสารย้อนหลังได้ง่ายขึ้น ระบบการค้นหาเอกสารจะทำให้เข้าถึงเอกสารในรายละเอียดได้มากขึ้น สิ่งสำคัญอย่างมากคือ การลดกระดาษ การลดพื้นที่การเก็บเอกสาร หากลดการใช้กระดาษ ย่อมหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงไปได้มาก สามารถสรุปได้ดังนี้

         1.สั่งการ และติดตามเรื่องได้ง่าย เป็นระบบ และรวดเร็ว

         2.มีการประสานงานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นหนึ่งเดียว ระบบงานองค์กรช่วยให้องค์กรมีระบบการทำงานที่สามารถประสานงานระหว่างกันได้เสมือนว่าเป็นระบบเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และการรวบรวมความเห็นจากคนหมู่มากทำได้เร็ว

         3.จัดเก็บเอกสารในระบบดิจิตอลซึ่งปลอดภัย และสืบค้นได้ง่าย ซึ่งมีมาตรฐานเดียวกันสามารถนำไปใช้กับระบบสารสนเทศในทุกส่วนขององค์กรได้เหมือนกัน

         4.การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และกระบวนการทำงานขององค์กรสามารถกระตุ้นการทำงานภายองค์กรให้มีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารยังสามารถ ค้นเอกสารได้เอง โดยสะดวก รวดเร็ว

         5.ไม่จำกัดเวลาทำงาน และสถานที่

         6.ลดขั้นตอนของการทำงาน

         7.โปร่งใส

                การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารการจัดการทำให้มนุษย์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆเช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใด หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยพัฒนคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ ให้ความบันเทิง ให้ความรู้ และยังช่วยในการพัฒนางานด้านต่าง ๆให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วยอันจะส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น

e-Learning


e-Learning คืออะไร ::

          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้



ประโยชน์ของ e-Learning ::
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
    การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
  • เข้าถึงได้ง่าย
    ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
    เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
    ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
               จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น
:: ประโยชน์ของการเรียนแบบออนไลน์เมื่อเทียบกับการฝึกอบรมในห้องเรียน ::

ห้องเรียน/สถานที่อบรม
เครือข่ายออนไลน์
การเข้าถึง
จำกัด (ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องเรียน) / ระยะเวลาที่เปิดสอนต่อวัน
24 ฃั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์
การวัดผล
วัดผลด้วยตัวเอง หรือครูผู้สอน
อัตโนมัติ หรือครูผู้สอน
การจดจำ
จำกัด ไม่สามารถทวนซ้ำได้ อาจจะต้องในการจดบันทึกแทน
สูง เพราะสามารถทวนซ้ำได้หลายๆ ครั้ง เท่าที่ต้องการ
ค่าใช้จ่าย
สูง เพราะค่าจ้างผู้สอนต่อครั้ง
ต่ำ ค่าจ้างครูผู้สอนครั้งเดียวในการผลิตเนื้อหา


องค์ประกอบของ e-Learning  มี 4 ส่วน ที่สำคัญ คือ

1. ระบบจัดการการศึกษา (Management Education System)

               ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก

2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)

                     หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
 
3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)
                       ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้

4. วัดผลการเรียน (Evaluation)

                          งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่

                              บทเรียน E -Learning  การ เรียน รู้ ที่ ดี มี
 ส่วนประกอ

                  หัวใจของระบบอีเลิร์นนิงประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 2 ส่วน  โดยส่วนแรก คือ Courseware ส่วนที่สอง คือ ระบบ LMS (Learning  Management  Systems) ซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ 
         1. Courseware คือเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมทำในรูปของเอกสารเว็บ Courseware ที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน มีการนำเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (resources) โดยเน้นที่องค์ความรู้จากห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเข้าถึงได้ทันที มีการทดสอบเพื่อประเมินว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใด มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การสื่อสารผ่านเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วการออกแบบ Courseware ที่ดีนั้นต้องใช้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่การนำเสนอในรูปแบบที่เอกสารสิ่งพิมพ์ทำไม่ได้หรือทำได้ยาก
          2 . LMS คืออะไร
           LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

 องค์ประกอบ LMS
     LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
      1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
      2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
      3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
      4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
      5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin
กำหนดให้

Home work 4


1. หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ (E-book)



             “อีบุ๊ค” (ebook, eBook, eBook, EBook) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง
ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป


โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง eBook


โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง eBook มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่


       1. โปรแกรมชุด Flip Album
       2. โปรแกรม DeskTop Author
       3. โปรแกรม Flash Album Deluxe


       ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน eBook ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
       1. โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
       2. โปรแกรมชุด Desktop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
       3. โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player
สำหรับบางท่านที่มีความชำนาญในการใช้โปรแกรม Flash Mx ก็สามารถสร้าง eBook ได้เช่นกัน แต่ต้องมีความรู้ในเรื่องการเขียน Action Script และ XML เพื่อสร้าง eBook ให้แสดงผลตามที่ต้องการได้


โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook Construction)

             ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ


สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย
      • หน้าปก (Front Cover)
      • คำนำ(Introduction)
      • สารบัญ (Contents)
      • สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
      • อ้างอิง (Reference)
      • ดัชนี(Index)
      • ปกหลัง (Back Cover)


          หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
          คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
          สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
          สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
หน้าหนังสือ (Page Number)
ข้อความ (Texts)
ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
จุดเชื่อมโยง (Links)
            อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
            ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหาพร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
             ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม


ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) กับหนังสือทั่วไป
              ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
              1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)
              2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
              3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
              4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update)
ได้ง่าย
              5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
           6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำประหยัด
           7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
           8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
           9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์(print)ได้
          10. หนังสือทั่วไปอ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
           11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ ใน handy drive หรือ CD

เว็บไซด์โดเมน



www.bu.ac.th/th/      

www.ku.ac.th/

www.sut.ac.th

www.hu.ac.th/

www.rsu.ac.th

www.thairath.co.th

www.manager.co.th/

www.dtac.co.th

www.dailynews.co.th

www.google.co.th/

www.bot.or.th/

www.gsb.or.th/

www.ndmi.or.th/

www.oic.or.th

www.sipa.or.th/

www.rd.go.th/

www.royalthaipolice.go.th/

www.tmd.go.th

www.mof.go.th/

www.sso.go.th/

www.uni.net.th/

www.school.net.th/

www.thaisarn.net.th/

www.sp2.uni.net.th/

www.cat.net.th/

            อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้

การประยุกต์ใช้งานอินทราเน็ต

                 การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลาย อาทิเช่น การจัดการเอกสารข้อมูล, การตีพิมพ์และกระจายข่าวสาร, การจองห้องและอุปกรณ์, ห้องสนทนา (Chat Room), เว็บบอร์ด (Web Board), อัลบั้มรูป, การจัดการสมุดรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ และอื่นๆ อีกมากมาย
โดยแนวโน้มการใช้งานของอินทราเน็ตในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) มีการดึงเอาสังคมออนไลน์ (Social Network) มาใช้เพื่อเชื่อมต่อและช่วยประสานการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทหรือองค์กรที่ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาหรือสำนักงานในส่วนภูมิภาคให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้พบว่าการนำเอาสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันสนับสนุนให้การทำงานของอินทราเน็ตเป็นมากกว่าเครือข่ายเฉพาะภายในองค์กรที่ใช้จัดเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงเอาแอพพลิเคชันต่างๆเข้ามาใช้งานร่วมกับอินทราเน็ตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

เราเตอร์


http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/images/JB000763.GIFเราเตอร์ ( Router
               เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้   เราเตอร์ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทำให้เราเตอร์สามารถทำงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อ หรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย

            สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์คือ เราเตอร์มีการทำงานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI นั่นคือคือ Network Layer โดยจะใช้ logical address หรือ Network Layer address ซึ่งเป็นที่อยู่ซึ่งตั้งโดยซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระดับ Network Layer รู้จัก

                 หน้าที่หลักของเราเตอร์คือ การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น โดยในแต่ละเครือข่ายจะมีรูปแบบของ packet ที่แตกต่างกันตามโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบน (ตั้งแต่เลเยอร์ที่ 3 ขึ้นไป) เช่น IP, IPX หรือ AppleTalk

               เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของเลเยอร์ที่ 2 เมื่อเราเตอร์ได้รับข้อมูลก็จะตรวจดูใน packet นี้เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งเราเตอร์จะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง routing table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดต่อจึงจะถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ตามรูปแบบของเลเยอร์ที่ 2 อีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายถัดไป

ข้อดีของการใช้เราเตอร์

               1. ในการใช้เราเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปริมาณการส่งข้อมูลของแต่ละเครือข่ายย่อยจะแยกจากกันโดยเด็ดขาด นั่นคือปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลในเครือข่าย LAN หนึ่งจะไม่รบกวนการไหลเวียนข้อมูลของอีกเครือข่าย LAN หนึ่ง
                2. มีความคล่องตัวในการทำงานสูง เนื่องจากสามารถทำงานร่วมกับโทโพโลยีได้ทุกชนิด
                3. สามารถกำหนดความสำคัญในการส่งข้อมูลได้ เช่น สามารถกำหนดได้ว่าหากข้อมูลที่ส่งไปอยู่ในรูปแบบของโปรโตคอลที่มีลำดับความสำคัญสูง ก็สามารถลัดคิวส่งออกไปได้ก่อน
                4. การปิดกั้นเครือข่าย หรือแยกเครือข่ายออกจากเครือข่ายที่ไม่ต้องการจะติดต่อด้วย ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยวิธีหนึ่ง
                5. การเลือกเส้นทางในการที่จะส่งข้อมูล สามารถใช้เราเตอร์ช่วยในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด

ข้อเสีย
               1. เราเตอร์ทำงานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จัก
              2. ราคาแพงกว่าสวิตช์และฮับมาก



                   Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้


               การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับ Hub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือ Switch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่ 10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น แต่ถ้าเป็น Switch อัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน

Home work 3


การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


Dial up/ISDN คืออะไร
         บริการเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial up/ISDN) บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต สำหรับองค์กรที่มีการใช้งานไม่มาก หรือไม่ต้องการการเชื่อมต่อตลอด 24 ชั่วโมง และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลรักษาระบบ เพียงท่านหมุนโทรศัพท์ (Dial Up) ผ่านโมเด็ม มายังจุดให้บริการของสบทร. ที่มีอยู่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ก็จะสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ต และเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย สื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 56 - 128 kbps


ISDN
              ISDN (Integrated Service Digital Network) คือบริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิตอลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ เสียง และข้อมูล ด้วยความเร็ว 128 Kbps ขึ้นไป ข้อดีของการใช้ ISDN คือความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารของผู้ใช้บริการไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ (Conversion) ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน (Noise) ก็จะลดลงด้วย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้องไว้ใจได้สูงกว่าแบบเดิม
         ลักษณะการใช้งานเหมือนกับการหมุนโทรศัพท์ธรรมดาปกติ คือเสียครั้งละ 3 บาท ก่อนจะใช้คุณต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของ ISP ที่เป็น ISDN ด้วยจึงจะได้ความเร็วของ ISDN ตามที่กำหนด

รูปแบบการใช้บริการ ISDN มี 2 แบบ คือ
                 1. แบบ BRI (Basic Rate Interface) หรือทางองค์การโทรศัพท์เขาเรียกว่า BAI (Basic Access Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการด้วยคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาจากชุมสาย ISDN จนถึงอุปกรณ์ปลายทาง คู่สายเพียง 1 คู่สาย สามารถที่จะรองรับอุปกรณ์ปลายทางชนิดต่าง ๆ ได้สูงสูด 8 อุปกรณ์และสามารถใช้งานได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เนื่องจากภายในคู่สาย ISDN แบบ BRI นี้จะประกอบไปด้วยช่องสัญญาณ 2 ช่องโดยแต่ละช่องสามารถให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุดถึง 128 Kbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
                 2. แบบ PRI (Primary Rate Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการโดยการวางเคเบิลแบบไฟเบอร์ออฟติคไปยังตู้สาขาแบบ ISDN (ISDN PABX) ของผู้เช่าเคเบิลเส้นหนึ่งจะช่องสัญญาณอยู่ 30 ช่อง แต่ละช่องให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ซึ่งแต่ละช่องสามารถที่จะรวมสัญญาณเข้าด้วยกันทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุด คือ 2.048 Mbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

รูปแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายของบริการ Dial up/ISDN
<!--[if !vml]-->http://www.zabzaa.com/links/images/Dialup.jpg<!--[endif]-->



DSL คืออะไร
         DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line หมายถึงเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ใช้คู่สายทองแดงธรรมดา ปรับให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง โดยมีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในขณะที่ใช้งานโทรศัพท์ สำหรับเทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายประเภท เช่น
  • ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
  • HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
  • IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
  • RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
  • SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
  • VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
ซึ่งแต่ละเทคโนโลยี DSL จะมีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลแตกต่างกันออกไป โดยมีความแตกต่างกันในลักษณะดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.     <!--[endif]-->ความเร็วในการรับ (down) ส่ง (up) ข้อมูล
<!--[if !supportLists]-->2.     <!--[endif]-->Mode การรับ-ส่งข้อมูล
เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานจริง การเลือกเทคโนโลยีในการรับ-ส่งข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตัวอย่างเช่น การรับ-ส่งข้อมูลของบริษัทระหว่างสาขา จะมีการรับ และส่งข้อมูลในการอัตราที่ต้องการความเร็วพอๆ กัน แต่สำหรับผู้ใช้ตามบ้านมักจะต้องการการรับข้อมูลในการอัตราความเร็วมากกว่าการส่งข้อมูล
<!--[if !supportLists]-->3.     <!--[endif]-->ระยะทางในการรับ-ส่งข้อมูล
ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับความเร็วในการส่งข้อมูล เช่น เทคโนโลยี VDSL สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 52 Mbps แต่จำกัดในเรื่องระยะทางเพียง 1 km เท่านั้น แต่สำหรับ ADSL สามารถส่งข้อมูลได้เร็วเพียง 8 Mbps แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 5 km เป็นต้น
<!--[if !supportLists]-->4.     <!--[endif]-->จำนวนสายที่ใช้
ตัวอย่างช่น เทคโนโลยี HDSL จะใช้สายในการรับ-ส่งข้อมูลถึง 4 สาย หรือ 2 คู่ แต่เทคโนโลยีอื่นๆ ได้พัฒนาให้ใช้สายเพียง 1 คู่หรือ 2 สายเท่านั้น
<!--[if !supportLists]-->5.     <!--[endif]-->ความสามารถในการใช้สายโทรศัพท์ระหว่างการรับ-ส่งข้อมูล
เทคโนโลยีที่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ระหว่างการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ เทคโนโลยี ADSL และ VDSL
ADSL คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และองค์กรขนาดย่อม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องมาจากคุณภาพและราคาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับความต้องการ

ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยี DSL ไปใช้งาน
  • Broadcast Audio & TV
    ดูรายการถ่ายทอดสดผ่าน TV, คอมพิวเตอร์
  • Distance Learning
    การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบ Interactive
  • Interactive Network
    เล่นเกมส์ online
  • Online Shopping
    Shopping แบบ online
  • VDO Conference
    การประชุมทางไกล การอบรมทางไกล
  • Video & Music on Demand
    ดูหนัง ฟังเพลงแบบ online สามารถเลือกได้ตามใจคุณ
  • VPN : Virtual Private Network
    การรับส่ง ติดต่อข้อมูลระหว่างสาขา
cable
สายเคเบิล


                หมายถึง สายที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับบริภัณฑ์รอบข้างต่าง ๆ (peripheral equipment ) เช่น สายที่เชื่อมต่อระหว่างจอภาพและหน่วยประมวลผลกลาง หรือระหว่างเครื่องพิมพ์กับหน่วยประมวลผลกลาง ช่องสำหรับเชื่อมต่อนี้ มักจะอยู่ด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีลักษณะเป็นรูที่จะมีขาเสียบเข้าไปได้เหมือนเต้าเสียบ




Satellite คืออะไร
Satellite



              ดาวเทียมที่ติดตั้งเครื่องรับสั­­าณจากระยะไกล (Remote Sensor) เพื่อสำรวจพื้นโลกเรียกว่า ดาวเทียมสำรวจโลก หรือดาวเทียมสำรวจทัรพยากร ซึ่งดาวเทียมประเภทนี้จะมีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะ แตกต่างกันออกไปตามลักษณะวงโคจร ระดับความสูงและลักษณะเครื่องรับสั­­าณ ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่าง จากดาวเทียมสี่อสารโดยทั่ว ๆ ระบบดาวเทียมสำรวจจากระยะไกล ประกอบด้วย ระบบหลัก 3 ระบบที่สำคั­ดังนี้

1. ระบบติดตามและควบคุม (Control System) ทำหน้าที่คอยหาวงโคจรของดาวเทียมควบคุมวงโคจร ดำเนินกรรมวิธีโปรแกรมต่าง ๆ ให้กับดาวเทียม
2. ระบบควบคุมการปฏิบัติงาน (Operating System) ทำหน้าที่วางแผนการปฏิบัติงานของ ดาวเทียม ประเมินผลข้อมูลจากการสำรวจฐานข้อมูล
3. ระบบข้อมูล (Data System) ทำหน้าที่รับสั­­าณ การบันทึกสั­­าณ กรรมวิธีข้อมูล การเก็บและ แจกจ่ายข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ


ดาวเทียมสำรวจโลกมีวงโคจรในลักษณะสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sunsynchronous Satellite) คือ วงโคจรที่หมุนเวียนครบรอบระนาบวงโคจรใน 1 ปี เช่นเดียวกับการปรากฎของดวงอาทิตย์หนึ่งรอบในแต่ ละปีกล่าวคือ ดาวเทียมโคจรรอบโลกผ่านเส้นศูนย์สูตรในแนวเหนือใต้ในระดับความสูงไม่มากนักโดยเฉลี่ย

Wireless คือ
Wireless เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งภาพ เสียง และข้อมูล จากอีกที่หนึ่งไปอีกทึ่หนึ่งโดยไม่มใช้สายไฟ แต่ใช้คลื่นวิทยุหรืออาจใช้คลื่น Infrared เป็นตัวกลางในการสื่อสาร

GPRS 



             GPRS หรือ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลแบบแพคเกตบนโทรศัพท์มือถือระบบ GSM ซึ่งนอกจากจะรวดเร็วแล้วยังเป็นการประหยัดต่อผู้ใช้ และเป็นการเพิ่มมาตรฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ให้มีความสามารถส่งข้อมูลผ่านดาต้าแพคเกตได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ต และการรับส่งอีเมล์ เป็นต้น GPRS Class เป็นคุณสมบัติเฉพาะของระดับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่สามารถทำได้ โดยจะมีอยู่ทั้งหมด 12 Class (เรียงตามลำดับตัวเลข 1 ถึง 12) หากตัวเลข Class ยิ่งมาก ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลจะยิ่งมากขึ้น จำนวนของ Time-Slot โดยความถี่ของระบบ GSM จะมีทั้งหมด 8 Time-Slot ซึ่งในการโทรเข้าโทรออกปกติจะใช้ 1 Time-Slot (ต่อ 1 หมายเลขโทรศัพท์) ซึ่งการรับข้อมูล (Downlink) และการส่งข้อมูล (Uplink) จะเขียนอยู่ในรูปของตัวเลขที่นำมาบวกกัน เช่น 3+1 หรือ 4+2 (Downlink+Uplink) ซึ่งชุดบวกลบจะแสดงข้อมูลรับ (Downlink) และข้อมูลส่ง (Uplink)